Dernière modification le
ข้อมูลการสมัครวีซ่า
มาตรการเฉพาะในการติดต่อแผนกกงสุล สถานเอกอัครราชทูตลักเซมเบิร์ก
- ทำการนัดหมายล่วงหน้า ทางอีเมล (bangkok.consulat@mae.etat.lu หรือ ทางโทรศัพท์หมายเลข (+66) 2 677 7360)
- ตรงเวลา
- เตรียมค่าธรรมเนียมให้พอดี
แผนกกงสุลและวีซ่าของสถานทูตมีสิทธิปฏิเสธการติดต่อของบุคคลที่ไม่ได้ทำการนัดหมายล่วงหน้าได้
ผู้สมัครอาจต้องทำการนัดหมายใหม่ในกรณีที่ติดต่อแผนกกงสุลและวีซ่าล่าช้า
วีซ่าเชงเก้นระยะสั้น (วีซ่า C)
วีซ่าเชงเก้นระยะสั้นคืออะไร?
วีซ่าเชงเก้น คือ วีซ่าระยะสั้นที่อนุญาตให้ผู้ถือสามารถเดินทางภายในเขตเชงเก้นได้สูงสุด 90 วันภายในระยะเวลา 180 วัน
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ในการเดินทางภายในเขตเชงเก้น ผู้สมัครสามารถสมัครและได้รับหนึ่งในวีซ่าประเภทเข้าออกได้หลายครั้ง ดังต่อไปนี้
- วีซ่าเข้าออกได้หลายครั้ง 1 ปี
- วีซ่าเข้าออกได้หลายครั้ง 2 ปี
- วีซ่าเข้าออกได้หลายครั้ง 5 ปี
วีซ่าเข้าออกได้หลายครั้ง 1 ปี
คุณสามารถได้รับวีซ่าประเภทนี้ หากคุณเคยได้รับและใช้วีซ่าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 3 ครั้งภายในระยะเวลา 2 ปี โดยคุณจะต้องแสดงหลักฐานวีซ่าก่อนหน้าที่เคยใช้เดินทางในเขตเชงเก้นเมื่อยื่นใบสมัคร
วีซ่าเข้าออกได้หลายครั้ง 1 ปี ให้สิทธิในการเข้าเขตเชงเก้นได้หลายครั้งโดยคุณต้องไม่อยู่เกิน 90 วันภายในระยะเวลาดังกล่าว
วีซ่าเข้าออกได้หลายครั้ง 2 ปี
วีซ่าเข้าออกได้หลายครั้ง 2 ปีจะออกให้แก่ผู้สมัครที่เคยได้รับและใช้วีซ่าเข้าออกได้หลายครั้ง 1 ปีภายในระยะเวลา 2 ปีก่อนหน้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
วีซ่านี้จะให้สิทธิผู้ถือในการเข้าเขตเชงเก้นหลายครั้งภายในระยะเวลา 2 ปี อย่างไรก็ตาม ผู้ถือวีซ่าประเภทนี้จะอยู่ในเขตเชงเก้นได้ไม่เกิน 90 วันภายในระยะ 180 วัน
ซ่าเข้าออกได้หลายครั้ง 5 ปี
วีซ่าเข้าออกได้หลายครั้ง 5 ปีจะออกให้แก่ผู้สมัครที่เคยได้รับและใช้วีซ่าเข้าออกได้หลายครั้ง 2 ปีภายในระยะเวลา 3 ปีก่อนหน้าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
วีซ่านี้อนุญาตให้เดินทางเข้าได้ 26 ประเทศในยยุโรปได้หลายครั้งภายในระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ ผู้ถือจะอยู่ในเขตเชงเก้นได้ไม่เกิน 90 วันภายในระยะ 180 วัน
การพิจารณาใบสมัครวีซ่าจะอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายวีซ่า (EC) เลขที่ 810/2009 แห่งสภายุโรปและสภาวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 2009 แก้ไขครั้งล่าสุดโดยกฎ (EU) 2019/1155 เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2019
เขตเชงเก้นครอบคลุม 27 ประเทศ (“ประเทศสมาชิกเชงเก้น”) จะไม่มีการตรวจตราตรงบริเวณชายแดนระหว่างกัน ประเทศเหล่านี้ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม โครเอเชีย สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิกเตนสไตน์ ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์
บัลแกเรีย ไซปรัส ไอร์แลนด์ และโรมาเนียเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป แต่ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในข้อตกลงเชงเก้น
ฉันจำเป็นต้องมีวีซ่าเชงเก้นระยะสั้นหรือไม่?
เงื่อนไขในการเข้าและอยู่ในลักเซมเบิร์กไม่เพียงแต่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและ/หรือจุดหมายปลายทางหลักของการพำนักเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับประเทศต้นทางของชาวต่างชาติที่ยื่นคำขอด้วย ตัวอย่างเช่น พลเมืองไทยจะต้องถือวีซ่าเชงเก้น (ยกเว้นผู้เดินทางที่ถือวีซ่าพำนักระยะยาวของประเทศที่ถูกต้องหรือใบอนุญาตมีถิ่นที่อยู่ซึ่งออกโดยรัฐสมาชิกเชงเก้น*) ในขณะที่พลเมืองมาเลเซียได้รับการยกเว้น
รายชื่อประเทศที่พลเมืองได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอวีซ่า
รายชื่อประเทศที่พลเมืองต้องขอวีซ่า
*เขตเชงเก้นครอบคลุม 27 ประเทศ (“ประเทศสมาชิกเชงเก้น”) จะไม่มีการตรวจตราตรงบริเวณชายแดนระหว่างกัน ประเทศเหล่านี้ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม โครเอเชีย สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ฮังการี ไอซ์แลนด์ อิตาลี ลัตเวีย ลิกเตนสไตน์ ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก มอลตา เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ โปรตุเกส สโลวาเกีย สโลวีเนีย สเปน สวีเดน และสวิตเซอร์แลนด์
บัลแกเรีย ไซปรัส ไอร์แลนด์ และโรมาเนียเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป แต่ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในข้อตกลงเชงเก้น
วีซ่าเชงเก้นมีประเภทใดบ้าง?
วีซ่ามาตรฐาน
ผู้ถือวีซ่ามาตรฐานจะได้รับอนุญาตให้เดินทางไปยังประเทศสมาชิกเชงเก้นได้ไม่เกิน 90 วันภายในระยะเวลา 180 วัน เพื่อคำนวณระยะเวลาการเข้าพักที่ได้รับอนุญาต ผู้สมัครสามารถใช้เครื่องคำนวณการเข้าพักระยะสั้นได้
วีซ่าจำกัดอาณาเขต
ผู้ถือวีซ่าจำกัดอาณาเขตจะได้รับอนุญาตให้เดินทางไปยังประเทศสมาชิกเชงเก้นที่ระบุไว้บนสติ๊กเกอร์วีซ่า แต่ไม่สามารถเดินทางไปยังประเทศสมาชิกเชงเก้นอื่นๆ ได้
วีซ่าเปลี่ยนเครื่องที่สนามบิน
ผู้ถือวีซ่าเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินจะได้รับอนุญาตให้ผ่านพื้นที่เปลี่ยนเครื่องระหว่างประเทศของรัฐผู้ออกและรัฐอื่น หากระบุไว้ในสติ๊กเกอร์วีซ่า
พลเมืองของประเทศอัฟกานิสถาน บังกลาเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ซาอีร์) เอริเทรีย เอธิโอเปีย กานา อิหร่าน อิรัก ไนจีเรีย ปากีสถาน โซมาเลีย และศรีลังกา จำเป็นต้องใช้วีซ่าเปลี่ยนเครื่องที่สนามบิน
โปรดทราบว่าวีซ่าพำนักระยะยาวจะออกให้ตามกฎข้อบังคับของประเทศสมาชิกแต่ละประเทศ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถได้รับจากคณะผู้แทนทางการทูตหรือกงสุลของประเทศสมาชิก ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สามารถหาได้จากเว็บไซต์ของประเทศ https://guichet.public.lu/en/citoyens/immigration.html และ/หรือผ่านทางระบบตรวจคนเข้าเมืองของสหภาพยุโรป https://immigration-portal.ec.europa.eu/index_en
ฉันสามารถยื่นใบสมัครวีซ่าได้เมื่อไหร่?
ใบสมัครสามารถยื่นไม่เกิน 6 เดือน และอย่างน้อย 15 วันก่อนกำหนดการเดินทาง
ใบสมัครที่ยื่นล่วงหน้าเพียงไม่กี่วันก่อนกำหนดการออกเดินทางจะถูกปฏิเสธ ยกเว้นในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัย ในทางกลับกัน แผนกกงสุลไม่สามารถรับประกันได้ว่าการพิจารณาวีซ่าจะเสร็จสิ้นก่อนกำหนดการเดินทาง หากยื่นใบสมัครนั้นยื่นน้อยกว่า 15 วันก่อนกำหนดการเดินทาง
ผู้สมัครจะต้องทำการนัดหมายทางอีเมลหรือทางโทรศัพท์เพื่อยื่นใบสมัครหรือเพื่อเก็บลายนิ้วมือ ตามกฎทั่วไป การนัดหมายสามารถทำได้ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ก่อนวันยื่นใบสมัคร
ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน แผนกกงสุลของสถานเอกอัครราชทูตในกรุงเทพมหานครอาจอนุญาตให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครได้โดยไม่ต้องนัดหมายหรือให้ทำการนัดหมายทันที
ลักเซมเบิร์กมีอำนาจในการพิจารณาและตัดสินใบสมัครวีซ่าหรือไม่?
ลักเซมเบิร์กมีอำนาจในการพิจารณาและตัดสินใบสมัครวีซ่าหากเข้าหนึ่งในเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
(a) ลักเซมเบิร์กเป็นจุดหมายหลักของการเดินทาง
(b) การเดินทางมีจุดหมายปลายทางมากกว่าหนึ่งแห่ง หรือมีการแยกการเดินทางหลายครั้งภายใน 2 เดือน และลักเซมเบิร์กเป็นจุดหมายหลักของการเดินทางในแง่ของระยะเวลาหรือวัตถุประสงค์ในการเดินทาง
(c) ไม่สามารถระบุจุดหมายหลักในการเดินทาง และลักเซมเบิร์กเป็นประเทศที่ผู้สมัครจะเดินทางเข้าเป็นประเทศแรก
หากได้ยื่นใบสมัครภายในกำหนดระยะเวลาและพิจารณาว่าใบสมัครเข้าเกณฑ์การยอมรับเบื้องต้นแล้ว (ใบสมัครที่กรอกครบถ้วนและลงลายมือชื่อ หนังสือเดินทางที่ยังมีอายุ รูปถ่าย) และจ่ายค่าธรรมเนียมวีซ่า เก็บข้อมูลไบโอเมตริกซ์แล้ว จะถือว่าใบสมัครนั้นได้รับการยอมรับและสามารถเริ่มพิจารณาใบสมัครได้
จะสมัครวีซ่าเชงเก้นระยะสั้นได้ที่ไหน?
ตามกฎทั่วไป ฝ่ายกงสุลของสถานทูตในกรุงเทพจะพิจารณาเฉพาะใบสมัครจากบุคคลที่อาศัย/มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมายเท่านั้น บุคคลที่ไม่ได้อาศัย/มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยสามารถสมัครได้เฉพาะในกรณีที่พวกเขาอยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถแสดงเหตุผลในการยื่นใบสมัครในประเทศไทยแทนที่จะยื่นในประเทศที่พำนักอยู่
หากคุณอาศัยอยู่ในกัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ สิงคโปร์ หรือเวียดนาม ควรยื่นใบสมัครวีซ่าระยะสั้น (สูงสุด 90 วัน) ที่:
• สถานเอกอัครราชทูตเยอรมัน ณ กรุงพนมเปญ ในประเทศกัมพูชา
• สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ณ กรุงจาการ์ตา ในประเทศอินโดนีเซีย
• สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำกรุงเวียงจันทน์ ในประเทศลาว
• สถานเอกอัครราชทูตเบลเยียม ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ในประเทศมาเลเซีย
• สถานเอกอัครราชทูตเยอรมัน ณ กรุงย่างกุ้ง ในประเทศเมียนมาร์
• สถานเอกอัครราชทูตเบลเยียมประจำประเทศสิงคโปร์
• สถานเอกอัครราชทูตเบลเยียม ณ กรุงฮานอย หรือ สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ ณ นครโฮจิมินห์ ในประเทศเวียดนาม
หากคุณอาศัยอยู่ในประเทศอื่น คุณจะต้องยื่นใบสมัครในประเทศที่คุณอาศัย/มีถิ่นฐานอยู่ คุณสามารถติดต่อสถานทูตเพื่อรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานที่ยื่นขอวีซ่าเชงเก้นได้
โปรดทราบว่า กงสุลกิตติมศักดิ์ของลักเซมเบิร์กไม่ได้อยู่ในกระบวนการพิจารณาวีซ่าแต่อย่างใด
คำถามพบบ่อย
ฉันสามารถใช้วีซ่าเชงเก้นได้กี่ครั้ง?
บนสติ๊กเกอร์วีซ่าจะระบุ “จำนวนครั้งใน0การเข้า” ที่ระบุ “1”, “2” หรือ “MULT” ผู้ถือวีซ่าเข้าออกได้หลายครั้ง (“MULT”) อาจเข้าเขตเชงเก้นโดยไม่จำกัดจำนวนครั้งในขณะที่วีซ่ายังมีอายุโดยต้องเคารพกฎระยะเวลาพำนัก (ไม่เกิน 90 วันในระยะเวลา 180 วัน)
จะเกิดอะไรขึ้นหากมีการยื่นใบสมัครกับประเทศสมาชิกหรือสถานกงสุลที่ไม่มีอำนาจในการพิจารณาและตัดสินใบสมัครของฉัน?
เมื่อมีการยื่นใบสมัครแล้ว สถานกงสุลจะตรวจสอบว่ามีอำนาจในการพิจารณาและตัดสินหรือไม่ หากไม่มีอำนาจ ก็จะส่งคืนใบสมัครและเอกสารที่ผู้สมัครส่งมา คืนเงินค่าธรรมเนียมวีซ่า และแจ้งว่าสถานกงสุลใดที่มีอำนาจโดยไม่ชักช้า
ข้อมูลไบโอเมตริกซ์ของฉัน (ลายนิ้วมือและภาพถ่าย) จะถูกเก็บรวบรวมหรือไม่
ผู้ยื่นขอวีซ่าเชงเก้นในประเทศไทยทุกคนจะต้องมาแสดงตนเพื่อให้ข้อมูลไบโอเมตริกซ์ (ลายนิ้วมือและภาพถ่ายดิจิทัล) ในการยื่นครั้งแรก หลังจากนั้นจะต้องมาแสดงตนทุกๆ 5 ปี หากเกี่ยวข้อง
จะต้องแนบรูปถ่ายล่าสุดตามมาตรฐาน ICAO
สำหรับการยื่นใบสมัครครั้งต่อไป (ภายใน 5 ปี) สามารถนำลายนิ้วมือจากไฟล์การสมัครครั้งก่อนในระบบข้อมูลวีซ่า (VIS)
ในกรณีที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลอัตลักษณ์ของผู้สมัคร แผนกกงสุลของสถานทูตจะเก็บลายนิ้วมืออีกครั้งภายในระยะเวลา 5 ปีที่ระบุไว้ข้างต้น นอกจากนี้ ผู้สมัครอาจขอให้เรียกเก็บลายนิ้วมือขณะยื่นใบสมัคร หากไม่สามารถยืนยันได้ทันทีว่ามีการเก็บลายนิ้วมือภายในระยะเวลา 5 ปีก่อนหน้านี้
ข้อมูลไบโอเมตริกซ์ของผู้สมัครวีซ่าสามารถเก็บรวบรวมได้โดยสถานกงสุลและศูนย์รับยื่นวีซ่าของกลุ่มประเทศในกลุ่มเชงเก้น แต่ไม่ใช่คนกลาง (เช่น ตัวแทนการท่องเที่ยว)
ข้อมูลสำหรับผู้สมัครวีซ่าเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลในระบบข้อมูลวีซ่า (VIS) ที่ให้ไว้เมื่อมีการยื่นขอวีซ่าระยะสั้น
ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลที่จำเป็นสำหรับการยื่นขอวีซ่า รวมถึงการถ่ายภาพและลายนิ้วมือ ถือเป็นข้อบังคับในการตรวจสอบการยื่นขอวีซ่า การไม่ให้ข้อมูลดังกล่าวจะส่งผลให้ไม่สามารถรับใบสมัครไว้เพื่อพิจารณาได้
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
Ministère des Affaires étrangères et européennes
Bureau des Passeports, Visas et Légalisations
6 Rue de l’Ancien Athenée
L-1144 Luxembourg
service.visas@mae.etat.lu
เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล: dataprotection.mae@mae.etat.lu
ข้อกฎหมาย
ข้อกฎหมายสำหรับการรวบรวมและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลมีกำหนดไว้ในข้อบังคับ (EC) 767/2008 (ข้อบังคับ VIS) ข้อบังคับ (EU) 2019/1155 การแก้ไขข้อบังคับ (EC) 810/2009 ประมวลกฎหมายชุมชนเกี่ยวกับวีซ่า ( Visa Code) และมติสภา 2008/633/JHA
การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อมูลจะถูกแชร์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของประเทศสมาชิก[1] และใช้โดยหน่วยงานเหล่านั้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการพิจารณาใบสมัครวีซ่า
ข้อมูลและข้อมูลเกี่ยวกับการพิจารณาตัดสินสมัครหรือการตัดสินใจว่าจะยกเลิก ถอน หรือขยายระยะเวลาวีซ่าที่ออกจะถูกนำเข้าและจัดเก็บไว้ในระบบข้อมูลวีซ่า (VIS) เป็นระยะเวลาสูงสุดห้าปี ในระหว่างนั้น ข้อมูลจะสามารถเข้าถึงได้โดยหน่วยงานวีซ่าและหน่วยงานที่มีอำนาจในการตรวจสอบวีซ่าที่ด่านชายแดนภายนอกและภายในประเทศสมาชิก สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองและที่พักพิงในประเทศสมาชิก เพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบว่าเงื่อนไขในการเข้าประเทศตามกฎหมาย การพำนัก และการพำนักในอาณาเขตของประเทศสมาชิกได้ถูกต้องแล้ว โดยสามารถระบุบุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเหล่านี้อีกต่อไป ในการตรวจสอบคำร้องขอลี้ภัย และกำหนดความรับผิดชอบในการตรวจสอบดังกล่าว
ภายใต้เงื่อนไขบางประการ ข้อมูลดังกล่าวจะพร้อมใช้งานสำหรับหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายของประเทศสมาชิกและ Europol เพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกัน การตรวจจับ และการสอบสวนความผิดของผู้ก่อการร้าย และความผิดทางอาญาร้ายแรงอื่น ๆ
ประเทศที่สามและองค์กรระหว่างประเทศ
ข้อมูลส่วนบุคคลอาจถูกโอนไปยังประเทศที่สามหรือองค์กรระหว่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์ในการพิสูจน์ตัวตนของคนประเทศที่สาม รวมถึงเพื่อวัตถุประสงค์ในการส่งคืน การโอนดังกล่าวเกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขบางประการเท่านั้น[2] คุณสามารถติดต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบในการใช้ข้อมูลเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงื่อนไขเหล่านี้และวิธีการปฏิบัติตามในกรณีเฉพาะของคุณ
ความโปร่งใสและสิทธิของเจ้าของข้อมูล
ภายใต้กฎการคุ้มครองข้อมูลทั่วไป[3] และกฎ VIS[4] คุณมีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ รวมถึงสำเนาของข้อมูลดังกล่าว ตลอดจนข้อมูลอัตลักษณ์ของประเทศสมาชิกที่ส่งข้อมูลดังกล่าวไปยัง VIS คุณมีสิทธิ์ที่จะแก้ไขหรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ให้ถูกต้องสมบูรณ์ได้ การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณถูกจำกัดภายใต้เงื่อนไขบางประการ และข้อมูลส่วนบุคคลของคุณที่ใช้อย่างผิดกฎหมายจะถูกลบออก
คุณสามารถส่งคำขอของคุณในเรื่องการเข้าถึง การแก้ไข การจำกัด หรือการลบข้อมูลได้โดยตรงต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบในการประมวลผลข้อมูล รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่คุณสามารถใช้สิทธิ์เหล่านี้ รวมถึงการเยียวยาที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายภายในประเทศของรัฐที่เกี่ยวข้อง มีอยู่ในเว็บไซต์และตามคำขอ
คุณสามารถส่งคำขอของคุณไปยังประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้ รายชื่อหน่วยงานผู้มีอำนาจและรายละเอียดการติดต่อ: https://ec.europa.eu/home-affairs/sites/homeaffairs/files/what-we-do/policies/borders-and-visas/visa-policy /how_to_apply/docs/links_to_ms_websites_en.pdf
ยื่นเรื่องร้องเรียน
นอกจากนี้ คุณยังมีสิทธิ์ยื่นเรื่องร้องเรียนต่อหน่วยงานคุ้มครองข้อมูลระดับประเทศของประเทศสมาชิกเกี่ยวกับการละเมิดที่ถูกกล่าวหาหรือของรัฐสมาชิกอื่น ๆ ได้ตลอดเวลา หากคุณพิจารณาว่าข้อมูลของคุณได้รับการใช้อย่างผิดกฎหมาย
หน่วยงานคุ้มครองข้อมูลของลักเซมเบิร์กคือ:
คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการปกป้องข้อมูล (CNPD), 15 Boulevard du Jazz, L-4370 Belvaux
โทรศัพท์: (+352) 26 10 60 - 1
ติดต่อทางเว็บไซต์: https://cnpd.public.lu/en/support/contact.html
เว็บไซต์: https://cnpd.public.lu/en/commission-nationale.html
[1] ออสเตรีย, เบลเยียม, เช็กเกีย, เดนมาร์ก, เอสโตเนีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, กรีซ, ฮังการี, อิตาลี, ลัตเวีย, ลิทัวเนีย, มอลตา, เนเธอร์แลนด์, โปแลนด์, โปรตุเกส, สโลวาเกีย, สเปน, สวีเดน, นอร์เวย์, ไอซ์แลนด์, ลิกเตนสไตน์ และ สวิตเซอร์แลนด์
[2] มาตรา 31 ของข้อบังคับ (EC) 767/2008 (ข้อบังคับ VIS)
[3] มาตรา 15 ถึง 19 ของข้อบังคับ (EU) 2016/679 (GDPR)
[4] มาตรา 38 ของข้อบังคับ (EC) 767/2008 (ข้อบังคับ VIS)
สิทธิ์ของคุณเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองที่แผนกตรวจคนเข้าเมืองของกระทรวงการต่างประเทศและกิจการยุโรป
ในกิจการเพื่อสาธารณประโยชน์ คณะกรรมการตรวจคนเข้าเมืองของกระทรวงการต่างประเทศและกิจการยุโรปรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณเพื่อให้สามารถเข้าถึงไฟล์ของคุณตามบทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2551 ว่าด้วยเรื่องการเคลื่อนย้ายบุคคลและการย้ายถิ่นฐานอย่างเสรี
ข้อมูลที่รวบรวมโดยคณะกรรมการตรวจคนเข้าเมืองยังสามารถใช้เพื่ออัปเดตข้อมูลของคุณในระบบทะเบียนบุคคลธรรมดาของประเทศ ตลอดจนเพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติ ข้อมูลนี้ยังสามารถใช้เพื่อตรวจสอบความสม่ำเสมอในการพำนักของคุณภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2551 ที่กล่าวถึงข้างต้น โดยฝ่ายบริหารและกระทรวงอื่น ๆ ในบริบทของขั้นตอนอื่น ๆ เช่น ขั้นตอนการได้มาซึ่งสัญชาติลักเซมเบิร์ก ที่กระทรวงยุติธรรม
ข้อมูลที่ใช้หรือข้อมูลบางส่วนที่จำเป็นสำหรับการทำภารกิจสาธารณะ อาจถูกใช้ในการสื่อสารหรือเข้าถึงได้โดยหน่วยงานอื่นที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลดังกล่าวตามบทบัญญัติทางกฎหมาย (“Office luxembourgeois d'accueil et d'intégration) ”, กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงยุติธรรม)
ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ตลอดระยะเวลาการใช้ที่คณะกรรมการตรวจคนเข้าเมืองและนานเท่าที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กล่าวข้างต้น
คุณมีสิทธิ์ในการเข้าถึง แก้ไข และลบข้อมูลของคุณ เช่นเดียวกับสิทธิ์ในการคัดค้านและสิทธิ์ในการเรียกร้องให้มีการจำกัดการรักษา ภายใต้เงื่อนไขบางประการ และเว้นแต่การรักษานั้นจำเป็นสำหรับฝ่ายบริหารเพื่อดำเนินภารกิจเพื่อสาธารณประโยชน์
หากคุณต้องการใช้สิทธิ์เหล่านี้หรือคำขอใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องข้อมูล คุณสามารถติดต่อคณะกรรมการตรวจคนเข้าเมืองของกระทรวงการต่างประเทศและยุโรป (BP 752, L-2017 ลักเซมเบิร์ก) ทางไปรษณีย์พร้อมหลักฐานแสดงตน การร้องเรียนอาจส่งถึงเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล (Commissaire à la Protection des données auprès de l’Etat, 43, bd Roosevelt L-1450 Luxembourg)
การร้องเรียนอาจยื่นต่อคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อการคุ้มครองข้อมูล (CNPD) (1, Avenue du Rock'n'Roll, L-4361 Esch-sur-Alzette)
ฉันจะทำอย่างไรถ้าวีซ่าของฉันถูกปฏิเสธ?
ผู้สมัครที่ถูกปฏิเสธวีซ่าจะได้รับแบบฟอร์มมาตรฐานเพื่อแจ้งเหตุผลในการปฏิเสธ ผู้สมัครเหล่านั้นมีสิทธิอุทธรณ์ได้โดยปฏิบัติตามขั้นตอนและยื่นอุทธรณ์ตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในแบบฟอร์มมาตรฐาน การอุทธรณ์สามารถยื่นต่อประเทศสมาชิกที่ได้พิจารณาตัดสินตามกฎหมายของประเทศนั้น
หากต้องการร้องเรียนต้องทำอย่างไร?
คุณมีสิทธิที่จะยื่นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับ:
- ความประพฤติของเจ้าหน้าที่แผนกสถานกงสุล
- การพิจารณาใบสมัคร
การร้องเรียนจะต้องส่งเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังแผนกกงสุลของสถานทูตทางอีเมลbangkok.consulat@mae.etat.lu
การอุทธรณ์เนื่องจากการถูกปฏิเสธวีซ่าจะต้องยื่นตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในแบบฟอร์มที่ให้มาพร้อมกับการปฏิเสธ
ฉันต้องใช้เอกสารอะไรบ้างเมื่อเดินทางด้วยวีซ่าเชงเก้น?
การถือวีซ่าเชงเก้นเพียงอย่างเดียวไม่ได้ให้สิทธิ์โดยอัตโนมัติในการเข้าสู่พื้นที่เชงเก้น ผู้ถือวีซ่าอาจถูกขอให้แสดงเอกสารที่แสดงถึงวัตถุประสงค์และเงื่อนไขของการพำนัก การมีปัจจัยยังชีพเพียงพอ ทั้งในช่วงเวลาที่ประสงค์จะพำนักและสำหรับการกลับไปยังประเทศต้นทางหรือผ่านไปยังรัฐที่สามซึ่งจะเดินทางเข้า หรืออยู่ในสถานะโดยชอบด้วยกฎหมาย มีประกันสุขภาพการเดินทางที่ถูกต้อง ผู้ถือวีซ่าที่มาเยี่ยมครอบครัวหรือเพื่อนอาจถูกขอให้แสดงหนังสือค้ำประกันฉบับจริงที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง
ระยะเวลาและการรับพิจารณาใบสมัคร
ตามกฎแล้ว ระยะเวลาพิจารณาใบสมัครวีซ่าเชงเก้นที่รับพิจารณา ไม่ควรเกิน 15 วันตามปฏิทิน (นับจากวันที่สถานทูตได้รับใบสมัคร)
หากเอกสารไม่ครบถ้วน ใบสมัครจะถูกระงับไว้จนกว่าสถานทูตจะได้รับเอกสารที่จำเป็นทั้งหมด หากจำเป็นต้องมีการตรวจสอบหรือขอเอกสารเพิ่มเติม ระยะเวลาพิจารณาอาจเพิ่มขึ้นถึง 45 วันตามปฏิทิน
สถานทูตจะไม่ขอตั๋วเครื่องบินตอนคุณยื่นใบสมัครวีซ่าเชงเก้น อย่างไรก็ตาม คุณสามารถจองตั๋วเครื่องบินได้ สถานทูตแนะนำให้ผู้สมัครยื่นใบสมัครล่วงหน้าอย่างน้อย 3 สัปดาห์ก่อนวันที่ประสงค์จะเดินทาง
หากยื่นใบสมัครน้อยกว่า 15 วันก่อนวันที่ประสงค์จะเดินทาง สถานทูตไม่สามารถรับประกันได้ว่าคุณจะสามารถเดินทางได้ทันในวันที่ประสงค์จะเดินทาง ใบสมัครที่ส่งกะทันหันจะถูกปฏิเสธ ยกเว้นในกรณีที่เกิดเหตุสุดวิสัย
คนชาติประเทศที่สามหรือคนชาติประเทศที่สามที่อยู่ในประเภทเฉพาะที่ต้องได้รับการปรึกษาล่วงหน้า
ภายใต้มาตรา 22 ของประมวลกฎหมายวีซ่า รัฐสมาชิกอาจกำหนดให้หน่วยงานกลางของประเทศสมาชิกอื่น ๆ ปรึกษาหน่วยงานกลางของตนในระหว่างการพิจารณาใบสมัครวีซ่าที่ยื่นโดยคนชาติของประเทศที่สามที่เฉพาะเจาะจงหรือประเภทเฉพาะของคนชาติดังกล่าว
หน่วยงานกลางที่ได้รับการปรึกษาหารือจะต้องตอบกลับอย่างแน่ชัดภายใน 7 วันตามปฏิทินหลังจากการปรึกษาหารือ
การให้คำปรึกษาดังกล่าวใช้ไม่ได้กับการยื่นขอวีซ่าเปลี่ยนเครื่องที่สนามบิน
ตารางด้านล่างแสดงรายการประเทศที่สามและหมวดหมู่เฉพาะที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีการระบุประเทศที่สาม หมายความว่าประเทศสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งรัฐจำเป็นต้องได้รับคำปรึกษาล่วงหน้า
เอกสารประกอบใบสมัครวีซ่าเชงเก้น
ท่องเที่ยว
เอกสารประกอบใบสมัครวีซ่าเชงเก้น (ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน) สำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการท่องเที่ยว
- ใบสมัครวีซ่า (Pdf, 519 Ko)ที่กรอกและลงลายมือชื่อครบถ้วน กรุณากรอกแบบฟอร์มเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
- รูปถ่ายสี ขนาด 35 x 45 มม. ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน พื้นหลังสีครีม, ฟ้าอ่อน หรือเทาอ่อน กรุณาไม่ใช้ลวดเย็บหรือติดกาวรูปถ่าย 1 รูป
- หนังสือเดินทางที่ยังมีอายุอย่างน้อย 3 เดือนนับถึงวันสุดท้ายที่คุณประสงค์จะเดินทางออกจากเขตเชงเก้น (Png, 714 Ko) หรือในกรณีมีการเดินทางหลายครั้ง ให้นับถึงวันสุดท้ายที่คุณประสงค์จะเดินทางออก หนังสือเดินทางจะต้องมีหน้าว่างเหลืออย่างน้อย 2 หน้า และออกไม่เกิน 10 ปี
- เอกสารที่ระบุวัตถุประสงค์ของการเดินทาง เช่น แผนการเดินทาง หรือแผนการเดินทาง/หลักฐานการจองโปรแกรมทัวร์จากตัวแทนบริษัทท่องเที่ยว
- เอกสารการจองที่พัก เช่น ใบจองโรงแรม
- หนังสือรับรองการทำงานฉบับจริง หรือ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน/โรงเรียน/มหาวิทยาลัย/องค์กร ที่ระบุตำแหน่ง ระยะเวลาทำงาน และการอนุญาตให้ลางาน
- เอกสารที่ระบุว่าผู้สมัครมีปัจจัยในการดำรงชีพเพียงพออย่างถูกต้องตามกฎหมายในระยะเวลาที่อยู่ในเขตเชงเก้น รวมถึงการเดินทางต่อไปยังประเทศที่สาม
- ข้อมูลที่สามารถทำให้เชื่อว่าผู้สมัครจะเดินทางออกจากเขตเชงเก้นก่อนวีซ่าหมดอายุ หลักฐานนั้นสามารถเป็นหลักฐานที่แสดงความผูกพันระหว่างผู้สมัครและประเทศที่มีถิ่นฐานตามกฎหมาย เช่น หลักฐานการทำงาน เอกสารกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
- ประกันสุขภาพการเดินทางที่มีความคุ้มครองขึ้นต่ำ 30,000 ยูโร ที่ยังมีอายุและครอบคลุมทุกประเทศในเขตเชงเก้น
- สำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีข้อมูลของผู้สมัคร 1 ชุด
- สำเนาวีซ่าเชงเก้นที่เคยได้รับภายในระยะเวลา 5 ปี
แนะนำให้เตรียมหลักฐานการสำรองตั๋วเครื่องบินไปกลับ แต่ไม่บังคับ
ธุรกิจ/สัมมนา/วัฒนธรรม/กีฬา/เรียน
เอกสารประกอบใบสมัครวีซ่าเชงเก้น (ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน) สำหรับวัตถุประสงค์เพื่อธุรกิจ/สัมมนา/วัฒนธรรม/กีฬา/เรียน
- ใบสมัครวีซ่า (Pdf, 519 Ko)ที่กรอกและลงลายมือชื่อครบถ้วน กรุณากรอกแบบฟอร์มเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
- รูปถ่ายสี ขนาด 35 x 45 มม. ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน พื้นหลังสีครีม, ฟ้าอ่อน หรือเทาอ่อน กรุณาไม่ใช้ลวดเย็บหรือติดกาวรูปถ่าย 1 รูป
- หนังสือเดินทางที่ยังมีอายุอย่างน้อย 3 เดือนนับถึงวันสุดท้ายที่คุณประสงค์จะเดินทางออกจากเขตเชงเก้น (Png, 714 Ko) หรือในกรณีมีการเดินทางหลายครั้ง ให้นับถึงวันสุดท้ายที่คุณประสงค์จะเดินทางออก หนังสือเดินทางจะต้องมีหน้าว่างเหลืออย่างน้อย 2 หน้า และออกไม่เกิน 10 ปี
- เอกสารที่ระบุวัตถุประสงค์ของการเดินทาง เช่น หนังสือเชิญจากบริษัทที่ผู้สมัครจะไปร่วมสัมมนา/ประชุม
- หนังสือรับรองการทำงานฉบับจริงหรือเอกสารรับรองที่เกี่ยวข้องจากนายจ้าง/โรงเรียน/มหาวิทยาลัย/องค์กรที่ระบุตำแหน่ง ระยะเวลาการทำงาน เงินเดือน วัตถุประสงค์การเดินทาง หากเป็นเจ้าของธุรกิจ ใช้หนังสือรับรองบริษัท
- เอกสารที่ระบุว่าผู้สมัครมีปัจจัยในการดำรงชีพเพียงพออย่างถูกต้องตามกฎหมายในระยะเวลาที่อยู่ในเขตเชงเก้น รวมถึงการเดินทางต่อไปยังประเทศที่สาม
- ข้อมูลที่สามารถทำให้เชื่อว่าผู้สมัครจะเดินทางออกจากเขตเชงเก้นก่อนวีซ่าหมดอายุ หลักฐานนั้นสามารถเป็นหลักฐานที่แสดงความผูกพันระหว่างผู้สมัครและประเทศที่มีถิ่นฐานตามกฎหมาย เช่น หลักฐานการทำงาน เอกสารกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
- ประกันสุขภาพการเดินทางที่มีความคุ้มครองขึ้นต่ำ 30,000 ยูโร ที่ยังมีอายุและครอบคลุมทุกประเทศในเขตเชงเก้น
- สำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีข้อมูลของผู้สมัคร 1 ชุด
- สำเนาวีซ่าเชงเก้นที่เคยได้รับภายในระยะเวลา 5 ปี
แนะนำให้เตรียมหลักฐานการสำรองตั๋วเครื่องบินไปกลับ แต่ไม่บังคับ
เยี่ยมเยือนเพื่อนหรือญาติ
เอกสารประกอบใบสมัครวีซ่าเชงเก้น (ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน) สำหรับวัตถุประสงค์เพื่อเยี่ยมเยือนเพื่อนหรือญาติ
- ใบสมัครวีซ่า (Pdf, 519 Ko)ที่กรอกและลงลายมือชื่อครบถ้วน กรุณากรอกแบบฟอร์มเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
- รูปถ่ายสี ขนาด 35 x 45 มม. ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน พื้นหลังสีครีม, ฟ้าอ่อน หรือเทาอ่อน กรุณาไม่ใช้ลวดเย็บหรือติดกาวรูปถ่าย 1 รูป
- หนังสือเดินทางที่ยังมีอายุอย่างน้อย 3 เดือนนับถึงวันสุดท้ายที่คุณประสงค์จะเดินทางออกจากเขตเชงเก้น (Png, 714 Ko) หรือในกรณีมีการเดินทางหลายครั้ง ให้นับถึงวันสุดท้ายที่คุณประสงค์จะเดินทางออก หนังสือเดินทางจะต้องมีหน้าว่างเหลืออย่างน้อย 2 หน้า และออกไม่เกิน 10 ปี
- เอกสารที่ระบุวัตถุประสงค์ของการเดินทาง เช่น หลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างผู้สมัครและผู้เชิญ
- เอกสารการจองที่พัก เช่น ใบจองโรงแรม
- หนังสือรับรองการทำงานฉบับจริง หรือ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน/โรงเรียน/มหาวิทยาลัย/องค์กร ที่ระบุตำแหน่ง ระยะเวลาทำงาน และการอนุญาตให้ลางาน
- เอกสารที่ระบุว่าผู้สมัครมีปัจจัยในการดำรงชีพเพียงพออย่างถูกต้องตามกฎหมายในระยะเวลาที่อยู่ในเขตเชงเก้น รวมถึงการเดินทางต่อไปยังประเทศที่สาม หรือ หนังสือค้ำประกันจากผู้เชิญที่ผ่านการรับรองสำเนา กรอก ลงวันที่ และลงลายมือชื่อโดยกระทรวงการต่างประเทศและยุโรป
- ข้อมูลที่สามารถทำให้เชื่อว่าผู้สมัครจะเดินทางออกจากเขตเชงเก้นก่อนวีซ่าหมดอายุ หลักฐานนั้นสามารถเป็นหลักฐานที่แสดงความผูกพันระหว่างผู้สมัครและประเทศที่มีถิ่นฐานตามกฎหมาย เช่น หลักฐานการทำงาน เอกสารกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
- ประกันสุขภาพการเดินทางที่มีความคุ้มครองขึ้นต่ำ 30,000 ยูโร ที่ยังมีอายุและครอบคลุมทุกประเทศในเขตเชงเก้น
- สำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีข้อมูลของผู้สมัคร 1 ชุด
- สำเนาวีซ่าเชงเก้นที่เคยได้รับภายในระยะเวลา 5 ปี
แนะนำให้เตรียมหลักฐานการสำรองตั๋วเครื่องบินไปกลับ แต่ไม่บังคับ
หนังสือค้ำประกัน ระบุว่าบุคคลที่อาศัยอยู่ในลักเซมเบิร์กยอมรับที่จะรับผิดชอบต่อรัฐลักเซมเบิร์ก ในเรื่องค่าครองชีพ (รวมถึงค่ารักษาพยาบาล) และค่าส่งตัวกลับสำหรับผู้ยื่นขอวีซ่าที่ไม่ใช่พลเมืองของสหภาพยุโรป ตามมาตรา 4 กฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2551 ว่าด้วยการเคลื่อนย้ายบุคคลและการเข้าเมืองอย่างเสรี
ข้อกำหนดรูปถ่ายและขนาดศีรษะ
- ขนาดรูปถ่ายต้องมีขนาดอย่างน้อย 35 มม. x 45 มม.
- รูปถ่ายจะต้องแสดงทั้งศีรษะ โดยมีใบหน้าอยู่ตรงกลางภาพ และรวมถึงส่วนบนของไหล่ด้วย
- ขนาดของศีรษะตั้งแต่คางถึงกระหม่อมต้องอยู่ระหว่าง 29 มม. ถึง 34 มม.
ทางสถานทูตจะพิจารณาใบสมัครวีซ่าเฉพาะในกรณีที่ผู้สมัครแสดงภาพถ่ายที่ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด
วีซ่าเชงเก้นสำหรับคนไทย (หรือพลเมืองประเทศที่สาม) ที่เป็นสมาชิกครอบครัวของพลเมืองสหภาพยุโรป/ไอซ์แลนด์/ลิกเตนสไตน์/นอร์เวย์ หรือสวิส
ใครคือสมาชิกในครอบครัวของพลเมืองสหภาพยุโรป/ไอซ์แลนด์/ลิกเตนสไตน์/นอร์เวย์ หรือสวิส?
บุคคลต่อไปนี้ถูกกำหนดไว้ในมาตรา 2(2) ของคำสั่งว่าเป็นสมาชิกในครอบครัว 'หลัก':
- คู่สมรส
- คู่ชีวิตที่ได้จดทะเบียนคู่ชีวิตกับพลเมืองยุโรปตามพื้นฐานกฎหมายของประเทศสมาชิกที่ยึดว่าการจดทะเบียนคู่ชีวิตเทียบเท่ากับการสมรส
- ทายาทสายตรงที่มีอายุต่ำกว่า 21 ปี หรือที่อยู่ภายใต้การปกครองของคู่สมรสและคู่ชีวิตที่ระบุข้างต้น
- ญาติสายตรงที่อยู่ภายใต้การปกครองของคู่สมรสและคู่ชีวิตที่ระบุข้างต้น
นอกเหนือจากบุคคลที่กำหนดไว้ในมาตรา 2(2) ของกฎดังกล่าวแล้ว พลเมืองประเทศที่สามที่เป็นผู้ปกครองหลักของผู้เยาว์ที่เป็นพลเมืองสหภาพยุโรปสามารถได้รับผลประโยชน์จากกฎดังกล่าวด้วย (ผู้ปกครองดังกล่าวไม่ได้อยูภายใต้การปกครองผู้เยาว์ที่เป็นพลเมืองสหภาพยุโรป แต่ผู้เยาว์ที่เป็นพลเมืองสหภาพยุโรปอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ปกครอง)
เพื่อรักษาความเป็นเอกภาพของครอบครัวในความหมายกว้างๆ ประเทศสมาชิกจะต้องอำนวยความสะดวกในการเข้าและถิ่นที่อยู่ของสมาชิกในครอบครัวที่เรียกว่า 'ครอบคลุมถึง' ของพลเมืองสหภาพยุโรป (สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม ดูที่ Commission Communication COM (2009)
บุคคลต่อไปนี้ถูกกำหนดไว้ในมาตรา 3(2) ของกฎว่าเป็นสมาชิกในครอบครัว "ครอบคลุมถึง":
- สมาชิกในครอบครัวอื่นๆ (เช่น ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในมาตรา 2(2) ของกฎ) ที่เป็น:
- ผู้อยู่ในความอุปการะ
- สมาชิกในครัวเรือนของพลเมืองสหภาพยุโรป
- บุคคลที่ต้องดูแลพลเมืองสหภาพยุโรปอย่างเคร่งครัดภายใต้เหตุผลด้านสุขภาพอย่างร้ายแรง หรือ
- คู่ชีวิตที่พลเมืองสหภาพยุโรปมีความสัมพันธ์ที่ยาวนานซึ่งได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง
เอกสารประกอบใบสมัครวีซ่าเชงเก้น
ข้อกำหนดรูปถ่ายและขนาดศีรษะ
- ขนาดรูปถ่ายต้องมีขนาดอย่างน้อย 35 มม. x 45 มม.
- รูปถ่ายจะต้องแสดงทั้งศีรษะ โดยมีใบหน้าอยู่ตรงกลางภาพ และรวมถึงส่วนบนของไหล่ด้วย
- ขนาดของศีรษะตั้งแต่คางถึงกระหม่อมต้องอยู่ระหว่าง 29 มม. ถึง 34 มม.
ทางสถานทูตจะพิจารณาใบสมัครวีซ่าเฉพาะในกรณีที่ผู้สมัครแสดงภาพถ่ายที่ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด
เอกสารประกอบใบสมัครวีซ่าเชงเก้น (ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน) สำหรับสมาชิกครอบครัวของพลเมืองสหภาพยุโรป/เขตเศรษฐกิจยุโรป/สวิสเซอร์แลนด์
- ใบสมัครวีซ่า (Pdf, 519 Ko)ที่กรอกและลงลายมือชื่อครบถ้วน กรุณากรอกแบบฟอร์มเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
- รูปถ่ายสี ขนาด 35 x 45 มม. ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน พื้นหลังสีครีม, ฟ้าอ่อน หรือเทาอ่อน กรุณาไม่ใช้ลวดเย็บหรือติดกาวรูปถ่าย 1 รูป
- หนังสือเดินทางที่ยังมีอายุอย่างน้อย 3 เดือนนับถึงวันสุดท้ายที่คุณประสงค์จะเดินทางออกจากเขตเชงเก้น (Png, 714 Ko) หรือในกรณีมีการเดินทางหลายครั้ง ให้นับถึงวันสุดท้ายที่คุณประสงค์จะเดินทางออก หนังสือเดินทางจะต้องมีหน้าว่างเหลืออย่างน้อย 2 หน้า และออกไม่เกิน 10 ปี
- สำเนาหนังสือเดินทางของพลเมืองสหภาพยุโรป/เขตเศรษฐกิจยุโรป/สวิสที่เกี่ยวข้องกับผู้สมัคร
- สำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีข้อมูลของผู้สมัคร 1 ชุด
- สำเนาวีซ่าเชงเก้นที่เคยได้รับภายในระยะเวลา 5 ปี
แนะนำให้เตรียมหลักฐานการสำรองตั๋วเครื่องบินไปกลับ แต่ไม่บังคับ
ค่าธรรมเนียมวีซ่าเชงเก้นสำหรับสมาชิกครอบครัวของพลเมืองสหภาพยุโรป/เขตเศรษฐกิจยุโรป/สวิสเซอร์แลนด์
- ไม่มีค่าธรรมเนียมสำหรับสมาชิกครอบครัวหรือผู้สมัครที่มีอายุต่ำกว่า 21 ปีที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของพลเมืองสหภาพยุโรป/เขตเศรษฐกิจยุโรป/สวิตเซอร์แลนด์
- สำหรับผู้ใหญ่อายุ 21 ปีขึ้นไป มีค่าธรรมเนียม 3,600 บาท
อาจไม่มีค่าธรรมเนียมวีซ่าสำหรับคู่สมรสที่มีอายุมากกว่า 21 ปี
ค่าธรรมเนียมวีซ่าเชงเก้น
ค่าธรรมเนียมวีซ่าเชงเก้น
|
|
|
|
|
|
บุคคลสัญชาติจากประเทศที่มีข้อตกลงอำนวยความสะดวกในการขอวีซ่า (อาร์เมเนีย, อาเซอร์ไบจาน และผู้ถือหนังสือเดินทางที่ไม่ใช่แบบไบโอเมตริกซ์จากประเทศ แอลเบเนีย, บอสเนีย และเฮอร์เซโกวีนา, จอร์เจีย, มาเซโดเนียเหนือ, มอลโดวา, มอนเตเนโกร, เซอร์เบีย และยูเครน) จะต้องชำระค่าธรรมเนียมวีซ่า 1,330 บาท
***********************************************************************************
- ผู้สมัครจะต้องชำระค่าธรรมเนียมวีซ่าที่เคาน์เตอร์แผนกกงสุลของสถานทูต
- ค่าธรรมเนียมวีซ่าไม่สามารถขอคืนหรือโอนได้
- ชำระเป็นเงินสด สกุลเงินไทยบาทเท่านั้น
- ผู้สมัครจะได้รับใบเสร็จภายหลังการชำระค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมมีการปรับเปลี่ยนเรื่อยๆตามค่าดำเนินการและอัตราแลกเปลี่ยน
วีซ่าระยะยาว (วีซ่า D)
ฉันสามารถยื่นใบสมัครวีซ่าได้ที่ไหน?
คุณสามารถยื่นคำร้องขอวีซ่าได้ที่แผนกกงสุลของสถานทูตหากคุณอาศัยอยู่ในประเทศไทย
มีเพียงสถานทูตหรือสถานกงสุลเบลเยียมเท่านั้นที่สามารถมีส่วนร่วมในขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอวีซ่าประเภท D ในประเทศที่ไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลลักเซมเบิร์ก สถานทูตหรือสถานกงสุลเบลเยียมที่อยู่ในประเทศต่อไปนี้ได้รับการรับรองจากสถานทูตลักเซมเบิร์กในกรุงเทพฯ:
ขอเรียนให้ทราบว่าไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลเบลเยียมในกัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว และเมียนมาร์
คุณสามารถยื่นใบสมัครวีซ่าของคุณที่สถานทูตในกรุงเทพฯ หากคุณอาศัยอยู่นอกประเทศไทย คุณต้องติดต่อเราล่วงหน้าทางอีเมลหรือโทรศัพท์
ค่าธรรมเนียมวีซ่า
วีซ่าระยะยาว (วีซ่า D) เป็นภาษาอังกฤษ
ค่าธรรมเนียมวีซ่า
|
|
|
|
|
|
- ผู้สมัครจะต้องชำระค่าธรรมเนียมวีซ่าที่เคาน์เตอร์แผนกกงสุลของสถานทูต
- ค่าธรรมเนียมวีซ่าไม่สามารถขอคืนหรือโอนได้
- ชำระเป็นเงินสด สกุลเงินไทยบาทเท่านั้น
- ผู้สมัครจะได้รับใบเสร็จภายหลังการชำระค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมมีการปรับเปลี่ยนเรื่อยๆตามค่าดำเนินการและอัตราแลกเปลี่ยน
เอกสารใดบ้างที่ควรยื่นประกอบใบสมัครวีซ่าระยะยาว (วีซ่า D)?
ข้อกำหนดรูปถ่ายและขนาดศีรษะ
- ขนาดรูปถ่ายต้องมีขนาดอย่างน้อย 35 มม. x 45 มม.
- รูปถ่ายจะต้องแสดงทั้งศีรษะ โดยมีใบหน้าอยู่ตรงกลางภาพ และรวมถึงส่วนบนของไหล่ด้วย
- ขนาดของศีรษะตั้งแต่คางถึงกระหม่อมต้องอยู่ระหว่าง 29 มม. ถึง 34 มม.
ทางสถานทูตจะพิจารณาใบสมัครวีซ่าเฉพาะในกรณีที่ผู้สมัครแสดงภาพถ่ายที่ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด
ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ผู้ถือวีซ่าอาจถูกเรียกให้แสดงหนังสืออนุญาตให้พำนักฉบับจริง
เอกสารประกอบใบสมัครวีซ่าระยะยาว (ระยะเวลามากกว่า 90 วัน)
- ใบสมัครวีซ่า (Pdf, 428 Ko)ที่กรอกและลงลายมือชื่อครบถ้วน กรุณากรอกแบบฟอร์มเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น
- รูปถ่ายสี ขนาด 35 x 45 มม. ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน พื้นหลังสีครีม, ฟ้าอ่อน หรือเทาอ่อน กรุณาไม่ใช้ลวดเย็บหรือติดกาวรูปถ่าย 1 รูป
- หนังสือเดินทางที่ยังมีอายุอย่างน้อย 3 เดือนนับถึงวันสุดท้ายที่คุณประสงค์จะเดินทางออกจากเขตเชงเก้น (Png, 714 Ko) หรือในกรณีมีการเดินทางหลายครั้ง ให้นับถึงวันสุดท้ายที่คุณประสงค์จะเดินทางออก หนังสือเดินทางจะต้องมีหน้าว่างเหลืออย่างน้อย 2 หน้า และออกไม่เกิน 10 ปี
- ประกันสุขภาพการเดินทางที่มีความคุ้มครองขึ้นต่ำ 30,000 ยูโร ที่ยังมีอายุและครอบคลุมทุกประเทศในเขตเชงเก้น
- หนังสืออนุมัติวีซ่าจากกระทรวงต่างประเทศและกิจการยุโรปของลักเซมเบิร์ก
- สำเนาหนังสือเดินทางหน้าที่มีข้อมูลของผู้สมัคร 1 ชุด
แนะนำให้เตรียมหลักฐานการสำรองตั๋วเครื่องบินไปกลับ แต่ไม่บังคับ
การรับรองนิติกรณ์เอกสาร
การนิติกรณ์เอกสารเป็นการรับรองข้อมูลดังต่อไปนี้
- ความถูกต้องของลายมือชื่อในเอกสาร
- หน้าที่และอำนาจของผู้ลงนาม
- ความถูกต้องของตราผนึกตราประทับ
ตราประทับหรือสติ๊กเกอร์ของการรับรองนิติกรณ์เอกสารจะอยู่บนเอกสาร
การรับรองนิติกรณ์เอกสารไม่ได้รับรองเนื้อหาหรือปลายทางของเอกสาร
เว้นแต่จะมีกฎหมายยกเว้น เอกสารราชการจากต่างประเทศต้องผ่านการรับรองนิติกรณ์เพื่อที่สามารถจะนำไปใช้อย่างถูกต้องในประเทศลักเซมเบิร์ก และเอกสารราชการทั้งหมดของลักเซมเบิร์กต้องผ่านการรับรองนิติกรณ์เพื่อที่จะนำไปใช้อย่างถูกต้องในต่างประเทศ
หลายประเทศทั่วโลกได้มีการลงนามเพื่อมุ่งอำนวยความสะดวกในกระบวนการนี้เพื่อพลเมืองของตนรวมถึงลักเซมเบิร์กด้วย
เครื่องมือที่สำคัญที่สุดคือข้อบังคับ (EU) 2016/1191 ของรัฐสภายุโรปและสภาเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2016 ว่าด้วยการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายพลเมืองอย่างเสรีโดยการลดความซับซ้อนของข้อกำหนดสำหรับการนำเสนอเอกสารราชการบางอย่างในสหภาพยุโรปและการแก้ไขกฎระเบียบ (EU) เลขที่ 1024/2012
ระเบียบนี้ใช้กับเอกสารราชการต่อไปนี้ที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐสมาชิกตามกฎหมายภายในประเทศของตนที่จะต้องนำเสนอต่อหน่วยงานของรัฐสมาชิกอื่น
- เอกสารที่มาจากหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับศาลของประเทศสมาชิก รวมถึงเอกสารที่มาจากสำนักงานอัยการหรือจากเสมียนศาล เจ้าหน้าที่ หรือปลัดอำเภอ (“huissier de Justice”)
- เอกสารการบริหาร
- เครื่องมือรับรองเอกสาร
- การรับรองอย่างเป็นทางการเอกสารส่วนตัว เช่น ใบแจ้งการจดทะเบียน การตรวจสอบความถูกต้องของวันที่ และการรับรองความถูกต้องของลายมือชื่อ
- เอกสารที่ออกโดยผู้แทนทางการทูตหรือกงสุลของประเทศสมาชิกที่ปฏิบัติหน้าที่ในอาณาเขตของประเทศใด ๆ ในฐานะราชการ โดยจะต้องนำเสนอเอกสารดังกล่าวในอาณาเขตของประเทศสมาชิกอื่น หรือแก่ตัวแทนทางการฑูตหรือกงสุลของประเทศสมาชิกอื่นที่ใช้ หน้าที่ของตนในดินแดนของประเทศที่สาม
เอกสารที่อยู่ภายใต้ข้อบังคับนี้และสำเนาที่ได้รับการรับรองของเอกสารดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นจากการรับรองนิติกรณ์ทุกรูปแบบหรือขั้นตอนที่คล้ายกัน (apostille)
รายชื่อประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทั้งหมด
กฎระเบียบ (EU) 2016/1191 ได้รับการยกเว้นจากการแปลเอกสารราชการของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปที่มาพร้อมกับแบบฟอร์มมาตรฐานหลายภาษาที่อ้างถึงในภาคผนวกและการแปลที่ได้รับการรับรองโดยบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะแปลได้ภายใต้กฎหมายของประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป
นอกเหนือจากระเบียบข้อบังคับของสหภาพยุโรป 2016/1191 แล้ว อนุสัญญากรุงเฮกครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 1961 การยกเลิกข้อกำหนดในการทำให้ถูกต้องตามกฎหมายสำหรับเอกสารราชการต่างประเทศ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่าอนุสัญญา Apostille ก็มีความเกี่ยวข้องเช่นกัน
แผนกกงสุลของสถานเอกอัครราชทูตในกรุงเทพฯ ไม่ได้รับอนุญาตให้รับรองลายมือชื่อของเอกสารลักเซมเบิร์กโดยตรงเพื่อใช้ในประเทศไทยหรือต่างประเทศ จะต้องส่งคำขอรับรองทางกฎหมายของเอกสารลักเซมเบิร์กไปยังสำนักงานหนังสือเดินทาง วีซ่า และรับรองกฎหมาย สามารถส่งใบสมัครออนไลน์ได้โดยตรงที่ Guichet.lu.
การรับรองนิติกรณ์เอกสารโดยมีตราหรือไม่มีตรา apostille
การรับรองนิติกรณ์เอกสารโดยมีตรา apostille
คุณสามารถทำการรับรองนิติกรณ์เอกสารโดยมีตรา apostille ได้ ซึ่งเป็นรูปแบบการรับรองนิติกรณ์เอกสารแบบง่าย หน่วยงานใน "ประเทศ A" รับรองเอกสารโดยใช้ตราประทับหรือสติกเกอร์ที่เรียกว่า "apostille" หลังจากนี้ไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดๆ อีกต่อไป คุณก็สามารถใช้เอกสารนี้ได้ในทุกประเทศที่เป็นภาคีของอนุสัญญา Apostille อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของอนุสัญญานี้ (ดูด้านล่าง "การรับรองนิติกรณ์เอกสารโดยไม่มีตรา apostille ")
เอกสารราชการบางฉบับที่ออกโดยประเทศในสหภาพยุโรปขอให้มีรูปแบบการรับรองนิติกรณ์เอกสารแบบง่าย เช่น สูติบัตร
ตัวอย่าง: ใบรับรองสถานภาพการสมรสในอินโดนีเซียของคุณ จะต้องได้รับการรับรองนิติกรณ์เอกสารโดยกระทรวงการต่างประเทศของอินโดนีเซียเท่านั้น จึงจะสามารถนำไปใช้ในประเทศลักเซมเบิร์กอย่างถูกต้องกฎหมายได้
การรับรองนิติกรณ์เอกสารโดยไม่มีตรา apostille
หากประเทศใดประเทศหนึ่งหรือทั้งสองประเทศที่เกี่ยวข้องกับการรับรองนิติกรณ์เอกสารไม่ใช่ภาคีของอนุสัญญา Apostille (เช่น ประเทศไทย) การรับรองนิติกรณ์เอกสาร มักจะต้องปฏิบัติสองขั้นตอน:
- หน่วยงานใน "ประเทศ A" (เช่น ประเทศไทย) ตรวจสอบว่าเอกสารดังกล่าวได้รับการลงนามโดยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องใน "ประเทศ A" โดยปกติกระทรวงการต่างประเทศใน "ประเทศ A" จะเป็นผู้ดูแลเรื่องนี้ หลังจากอนุมัติแล้ว จะมีการประทับตราหรือติดสติ๊กเกอร์ลงบนเอกสาร ข้อมูลนี้จะแสดง "ประเทศ B" (เช่น ลักเซมเบิร์ก) ว่าเอกสารดังกล่าวออกโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจใน "ประเทศ A"
- "ประเทศ B" (เช่น ลักเซมเบิร์ก) ตรวจสอบและรับรองนิติกรณ์ด้วยตราประทับหรือสติกเกอร์ โดยปกติแล้ว สถานทูตของ "ประเทศ B" ใน "ประเทศ A" จะดำเนินการนี้ (เช่น ประเทศไทย) หลังจากถูกต้องตามกฎหมายแล้ว คุณสามารถใช้เอกสารใน "ประเทศ B" ได้
ตัวอย่าง: หนังสือรับรองการเปลี่ยนนามสกุลภาษาไทยจะต้องได้รับการรับรองจากกระทรวงการต่างประเทศของไทย, ต้องมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ (ฝรั่งเศสหรือเยอรมัน) โดยนักแปลที่สถานทูตในกรุงเทพฯ ยอมรับ และ เอกสารทั้งหมดจะต้องได้รับการรับรองนิติกรณ์โดยฝ่ายกงสุลของสถานทูตในกรุงเทพฯ เพื่อนำไปใช้อย่างถูกต้องตามกฎหมายในประเทศลักเซมเบิร์ก
*จะไม่มีการประทับตราบนเอกสารแปล แต่เย็บเข้ากับเอกสารไทยที่ผ่านการรับรองโดยกระทรวงการต่างประเทศของไทยแล้ว ทั้งหมดนับเป็นหนึ่งการรับรองนิติกรณ์เอกสาร
เอกสารรับรองนิติกรณ์โดยมีตราหรือไม่มีตรา apostille มีอายุนานแค่ไหน?
เอกสารรับรองนิติกรณ์โดยมีตราหรือไม่มีตรา apostille ไม่มีวันหมดอายุ อย่างไรก็ตาม หากเอกสารออกโดยระยะเวลาจำกัด การรับรองนิติกรณ์เอกสารก็จะมีระยะเวลาจำกัดเช่นกัน
เอกสารใดบ้างที่ไม่สามารถรับรองนิติกรณ์ได้โดยสถานทูตที่กรุงเทพ?
สถานทูตที่กรุงเทพไม่สามารถรับรองนิติกรณ์เอกสารดังต่อไปนี้ ตัวอย่างเช่น
- เอกสารที่ออกโดยประเทศลักเซมเบิร์ก*
- เอกสารที่ออกนอกประเทศไทย
- เอกสารที่ออกโดยสถานทูตหรือสถานกงสุลที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายประเทศลักเซมเบิร์ก เช่น เอกสารหย่าทางกงสุล
- ใบรับรองทางศาสนา เช่น ใบรับรองศาสนาคริสต์หรือใบรับรองนิกาย Baptist
- สำหรับประเทศไทย เอกสารไทยที่ไม่ได้ผ่านการรับรองนิติกรณ์โดยกระทรวงการต่างประเทศของไทย
หากคุณมีข้อสงสัย กรุณาส่งเอกสารให้สถานทูตพิจารณาทางอีเมลเพื่อทราบว่าเอกสารสามารถรับรองนิติกรณ์ได้ก่อนมาติดต่อที่สถานทูต
กรุณาศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และดูขั้นตอนได้ที่ Guichet.lu
สามารถใช้เอกสารลักเซมเบิร์กที่ผ่านการรับรองนิติกรณ์ในต่างประเทศได้หรือไม่?
แผนกกงสุลของสถานทูตที่กรุงเทพไม่ได้รับอนุญาตให้รับรองลายมือชื่อของเอกสารลักเซมเบิร์กสำหรับใช้ในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ ดังนั้น คำร้องขอรับรองนิติกรณ์เอกสารต้องยื่นโดยตรงต่อสำนักงานหนังสือเดินทาง, วีซ่า และรับรองนิติกรณ์เอกสารของประเทศลักเซมเบิร์ก โดยคำร้องนี้สามารถยื่นออนไลน์ผ่าน Guichet.lu จากนั้น เอกสารจะต้องผ่านการแปลโดยนักแปลที่ได้รับรองโดยสถานทูตของประเทศที่จะนำเอกสารไปใช้ และรับรองนิติกรณ์โดยสถานทูตนั้น
กรุณาศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม และดูขั้นตอนได้ที่ Guichet.lu.
ตัวอย่าง คุณสามารำนำเอกสารรับรองถิ่นฐานของลักเซมเบิร์กมาใช้ในประเทศไทย ขั้นแรก คุณต้องยื่นเอกสารต่อสำนักงานหนังสือเดินทาง, วีซ่า และรับรองนิติกรณ์เอกสารของประเทศลักเซมเบิร์ก หลังจากเอกสารนั้นได้รับการรับรองนิติกรณ์โดยสำนักงานหนังสือเดินทาง, วีซ่า และรับรองนิติกรณ์เอกสารของประเทศลักเซมเบิร์กแล้ว คุณสามารถยื่นเรื่องต่อที่สถานทูตไทยในกรุงบรัสเซลส์สามารถใช้เอกสารลักเซมเบิร์กที่ผ่านการรับรองนิติกรณ์ในต่างประเทศได้หากเป็นภาคีของอนุสัญญา Apostille (เช่น สิงคโปร์และอินโดนีเชีย) หากไม่เป็นเช่นนั้น เอกสารจะต้องได้รับการรับรองโดยหน่วยงานผู้มีอำนาจของต่างประเทศ
เอกสารต้องผ่านการแปลก่อนทำการรับรองนิติกรณ์เอกสารหรือไม่?
เอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศ (เช่น ภาษาไทย) จะต้องผ่านการแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส, เยอรมัน หรืออังกฤษ โดยนักแปลที่ได้รับการยอมรับโดยสถานทูต (เฉพาะประเทศไทย)
ในประเทศไทย เอกสารราชการบางประเภทสามารถออกเป็นภาษาอังกฤษ ดังนั้น เอกสารนั้นไม่จำเป็นต้องแปล
การแปลเอกสารนั้นสามารถทำหลังจากผ่านการรับรองนิติกรณ์เอกสารที่กระทรวงการต่างประเทศของไทย
ฉันสามารถนำเอกสารภาษาต่างประเทศไปรับรองนิติกรณ์ได้ที่ไหน เพื่อนำเอกสารนั้นไปใช้ที่ประเทศลักเซมเบิร์ก?
การรับรองนิติกรณ์เอกสารโดยมีตรา apostille (อินโดนีเชีย และ สิงคโปร์)
การรับรองนิติกรณ์เอกสารโดยไม่มีตรา apostille (ไทย, กัมพูชา, ลาว, มาเลเซีย, พม่า, เวียดนาม)
- Cambodia กัมพูชา
- step 1: Ministry of Foreign Affairs & International Cooperation
- ขั้นที่ 1: กระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ
- step 2: Embassy of France
- ขั้นที่ 2: สถานทูตฝรั่งเศส
- Laos ลาว
- step 1: Ministry of Foreign Affairs
- ขั้นที่ 1: กระทรวงการต่างประเทศ
- step 2: Embassy of Luxembourg in Vientiane
- ขั้นที่ 2: สถานทูตลักเซมเบิร์ก ณ กรุงเวียงจันทร์
- Malaysia มาเลเซีย
- step 1: Ministry of Foreign Affairs
- ขั้นที่ 1: กระทรวงการต่างประเทศ
- step 2: Embassy of Belgium
- ขั้นที่ 2: สถานทูตเบลเยี่ยม
- Myanmar พม่า
- step 1: Ministry of Foreign Affairs
- ขั้นที่ 1: กระทรวงการต่างประเทศ
- step 2: Embassy of Germany
- ขั้นที่ 2: สถานทูตเยอรมัน
- Thailand ไทย
- step 1: Ministry of Foreign Affairs
- ขั้นที่ 1: กระทรวงการต่างประเทศ
- ขั้นที่ 2: สถานทูตลักเซมเบิร์ก กรุงเทพ
- Vietnam เวียดนาม
- step 1: Consular Department - Ministry of Foreign Affairs
- ขั้นที่ 1: กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ
- step 2: Embassy of Belgium
- ขั้นที่ 2: สถานทูตเบลเยี่ยม
ฉันสามารถส่งเอกสารมาที่สถานทูตทางไปรษณีย์ลงทะเบียนได้หรือไม่?
สถานทูตไม่รับเอกสารที่ส่งมาทางไปรษณีย์ คุณต้องมาติดต่อด้วยตนเอง คุณสามารถมอบหมายให้เพื่อนหรือญาติรับรองเอกสารแทนคุณได้ โดยสามารถทำการนัดหมายล่วงหน้าทางอีเมลหรือทางโทรศัพท์ก่อนมาติดต่อที่สถานทูต
ใช้เวลานานแค่ไหนในการทำการรับรองนิติกรณ์เอกสารไทยที่สถานทูตที่กรุงเทพ?
การรับรองนิติกรณ์เอกสารสามารถรอรับได้หน้าเคาน์เตอร์ของสถานทูตในเวลาทำการ คุณจะต้องทำนัดหมายล่วงหน้าก่อนมาติดต่อที่สถานทูต คุณต้องแสดงเอกสารที่ได้รับรองนิติกรณ์ฉบับจริงและประทับตราโดยกระทรวงการต่างประเทศของไทย และแปลโดยนักแปลที่ได้รับการยอมรับจากทางสถานทูต หากเกี่ยวข้อง
ค่าธรรมเนียมรับรองนิติกรณ์เอกสารที่สถานทูตที่กรุงเทพ (บาท)
800 บาทต่อเอกสาร
- เอกสารฉบับจริงเป็นภาษาอังกฤษ (หรือเอกสารรับรองสำเนาถูกต้อง) ที่ได้รับการรับรองนิติกรณ์โดยกระทรวงการต่างประเทศของไทย นับเป็น 1 ตราประทับ
- เอกสารภาษาไทยฉบับจริงแนบพร้อมเอกสารแปลที่แปลโดยนักแปลที่ได้รับการยอมรับจากสถานทูตนับเป็น 1 ตราประทับบนเอกสาร
หมายเหตุ
- ผู้สมัครจะต้องชำระค่าธรรมเนียมรับรองนิติกรณ์เอกสารที่เคาน์เตอร์แผนกกงสุลของสถานทูต
- ค่าธรรมเนียมไม่สามารถขอคืนหรือโอนได้
- ชำระเป็นเงินสด สกุลเงินไทยบาทเท่านั้น
- ผู้สมัครจะได้รับใบเสร็จภายหลังการชำระค่าธรรมเนียม
- ค่าธรรมเนียมมีการปรับเปลี่ยนเรื่อยๆตามค่าดำเนินการและอัตราแลกเปลี่ยน